โดยนัยเป็นต้นว่า เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตรธรรม ดังนี้ก็มี ท่าน
อธิบายว่า ธรรมที่ควรบูชา ตรัสธรรมทั้งหลายที่ทรงกำหนดไว้ เพราะเป็น
ธรรมที่กำหนดโดยสภาวะ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี
ดังนี้ก็มี และตรัสธรรมทั้งหลายอันยิ่ง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม
อรรถแห่งการกล่าวถึงพระอภิธรรมนี้ ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า
ยํ เอตฺถ วุฑฺฒิมนฺโต สลกฺขณา ปูชิตา ปริจฺฉินฺนา
วุตฺตาธิกา จ ธมฺมา อภิธมฺโม เตน อกฺขาโต
พระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระ-
อภิธรรม เพราะเหตุที่พระอภิธรรมนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงธรรมที่เจริญ ๑ ธรรม
ที่ควรกำหนด ธรรมที่ควรบูชา ๑ ธรรม
กำหนด (แยก) ไว้ ๑ และธรรมที่ยิ่ง ๑.
ว่าด้วยความหมายที่ไม่ต่างกันของปิฎก
อนึ่ง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งปิฎกศัพท์กล่าวว่า คำว่า
ปิฎก ที่ไม่แตกต่างกันนั้นว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็น ปริยัติ และ
ภาชนะ (เครื่องรองรับ) บัดนี้ พึงประมวลปิฎกศัพท์นั้นเข้าด้วยกันแล้ว
ทราบปิฎกแม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น.
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก (ตำรา) เหมือนใน
ประโยคมีอาทิว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา แม้
ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า ปิฎก เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
No comments:
Post a Comment