ถือเอาจอบและตะกร้า (ปิฎก) มาดังนี้. เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
ปิฎกศัพท์จึงกล่าวว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็นปริยัติ และภาชนะ
(เครื่องรองรับ ).
บัดนี้ บัณฑิตพึงประมวลปิฎกศัพท์เข้าด้วยกัน แล้วพึงทราบปิฎก
แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น คือ พึงทำสมาส (วินัยเป็นต้น ) กับปิฎกศัพท์ซึ่งมี
อรรถ ๒ อย่าง อย่างนี้ แล้วพึงทราบปิฎกแม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้ว่า
พระวินัยนั้นด้วย เป็นปิฎกด้วย ชื่อว่า วินัยปิฎก เพราะเป็นปริยัติ และเพราะ
เป็นภาชนะ (เครื่องรองรับ) แห่งอรรถนั้น ๆ พระสูตรนั้นด้วย เป็นปิฎก
ด้วย ชื่อว่า
อภิธรรมปิฎก โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยความหมายคำว่าปิฎกที่แตกต่างกัน
ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความฉลาดเนื้อความต่าง ๆ ในปิฎก
แม้ทั้ง ๓ นั่นแหละอีกว่า
ในปิฎกเหล่านั้น บัณฑิตพึงแสดง
ประเภทเทศนา ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ
และคัมภีรภาพ ตามสมควร คือว่าภิกษุย่อม
บรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติ อันใด
ในปิฎกใด โดยประการใด พึงอธิบาย
ประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติแม้นั้นทั้งหมด
โดยประการนั้นเถิด.
No comments:
Post a Comment