แล้วละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างที่บรรณศาลานั้น ท่านแสดงไว้ว่า
สุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อละผ้าสาฎกได้เห็นโทษ ๙ อย่างจึงละ.
ว่าด้วยผ้าสาฎกมีโทษ ๙ อย่าง
จริงอยู่ โทษ ๙ อย่าง ย่อมปรากฏแก่บรรพชิตผู้บวชเป็นดาบส คือ
๑. ผ้านั้นมีค่ามาก ๒. ผ้าที่มีผู้อื่นหวงแหน ๓. ผ้าที่ใช้แล้วเปื้อนง่ายเพราะ
เปื้อนแล้วต้องซักต้องย้อม ๔. ผ้าคร่ำคร่าแล้วด้วยการใช้ เพราะว่าเมื่อขาด
แล้วต้องชุนต้องปะ ๕. ผ้าใหม่ที่หาได้ยากเพราะต้องแสวงหา ๖. ผ้าที่ไม่
สมควรแก่การบวชเป็น
รักษา ๘. ผ้าที่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย ๙. ผ้าที่มีผู้ต้องการมากเป็น
ของใช้ประจำตัวสำหรับเที่ยวไป.
ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง
คำว่า วากจิรํ นิวาเสสึ (นุ่งห่มผ้าคากรอง) ความว่า ดูก่อนสารีบุตร
ในกาลนั้น เราเห็นโทษ ๙ อย่างเหล่านั้น จึงละผ้าสาฎกแล้วนุ่งผ้าคากรอง คือ
ถือเอาผ้าคากรองที่บุคคลฉีกหญ้ามุงกระต่ายเป็นริ้ว ๆ แล้วทอ เพื่อสำหรับ
นุ่งห่ม. คำว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ (ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ) ความว่า
ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ. จริงอยู่ ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง
คือ
เป็นผ้ามีค่าน้อยดี เป็นของควร นี้
เป็นอานิสงส์ข้อแรกก่อน สามารถเพื่อทำ
ได้ด้วยมือของตน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ใช้แล้วค่อย ๆ เปื้อน แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้
No comments:
Post a Comment