Tuesday, January 18

Thi Si


เป็นอานิสงส์ที่   ๓     แม้เก่าเพราะการใช้สอย
ก็ไม่ต้องเย็บ    นี้เป็นอานิสงส์ที่ ที่ ๔    เมื่อแสวง
หาอีกก็ทำได้ง่าย         นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่   ๕
สมควรแก่การบวชเป็นดาบส    นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่  ๖    พวกข้าศึกไม่ใช้       นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่  ๗          ไม่ใช่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่   ๘     เป็นของเบาในเวลา
ครอง    นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่  ๙      เป็นของผู้มี
ความปรารถนาน้อยในจีวรเป็นปัจจัย     นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่  ๑๐     ความไม่มีโทษของผู้ทรง
ธรรม เพราะเกิดแต่เปลือกไม้     นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่  ๑๑     แม้เมื่อผ้าคากรองพินาศไปก็ไม่อา-
ลัย   นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่   ๑๒
.
บทคาถาว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ปชหํpajahiṃ paṇṇasālakaṃ ปณฺณสาลกํ แห่งคาถาว่า
อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ     ปชหึ   ปณฺณสาลกํ
อุปาคมึ  รุกฺขมูลํ          คุเณหิ  ทสหุปาคตํ
  ดังนี้
ถามว่า  สุเมธบัณฑิต   ละผ้านั้นได้อย่างไร ?
ตอบว่า  นัยว่า  สุเมธบัณฑิตนั้นเมื่อจะเปลื้องผ้าสาฎกทั้งคู่นั้น  ถือเอา
ผ้าคากรองที่ย้อมแล้ว    เช่นกับพวงดอกอังกาบ   ซึ่งพาดอยู่ที่ราวจีวร  นุ่งแล้ว
ก็ห่มผ้าคากรองมีสีเหมือนสีทองคำอีกผืนหนึ่งทับผ้านุ่งนั้น    แล้วทำหนังเสือ
เหลืองมีกีบเท้าเช่นกับสัณฐานดอกบุนนาค   ให้เป็นผ้าอยู่บนบ่าข้างหนึ่ง   แล้ว
สวมใส่มณฑลชฎา    สอดหมุดแข็งกับมวยผม    เพื่อต้องการทำให้ไม่หวั่นไหว

Insert Table

   🔠  ₁₀₉

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239