ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ กุสลสฺส
กมฺมสฺส กตตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็น
สุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้
ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง.
ธัมมศัพท์แม้นี้ ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เหตุ คุณ และนิสสัตต-
นิชชีวะเป็นต้น. จริงอยู่ ธัมมศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า ธมฺมํ ปริยาปุณาติ สุตฺตํ เคยฺยํ (กุลบุตรย่อมเล่าเรียนปริยัติ
คือ สุตตะ เคยยะ). ใช้ในอรรถ ว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เหตุมฺหิ
ญาณํ ธมฺมาปฏิสมฺภิทา (ญาณในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา). ใช้ใน
อรรถว่า คุณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคติํ.
ธรรมและอธรรม ทั้งสองมีวิบาก
เสมอกันหามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก
ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.
ใช้ในอรรถว่า นิสสัตตนิชชีวะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตสฺมิํ โข ปน
สมเย ธมฺมา โหนฺติ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายย่อมมี และคำว่า ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็น
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายอยู่). แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า
นิสสัตตนิชชีวะเท่านั้น.
No comments:
Post a Comment