Monday, December 20

Roi Kaeo -krong


ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ กุสลสฺส
กมฺมสฺส กตตฺตา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็น
สุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้
ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง.
ธัมมศัพท์แม้นี้ ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เหตุ คุณ และนิสสัตต-
นิชชีวะ
เป็นต้น. จริงอยู่ ธัมมศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า ธมฺมํ ปริยาปุณาติ สุตฺตํ เคยฺยํ (กุลบุตรย่อมเล่าเรียนปริยัติ
คือ สุตตะ เคยยะ). ใช้ในอรรถ ว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เหตุมฺหิ
ญาณํ ธมฺมาปฏิสมฺภิทา
(ญาณในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา). ใช้ใน
อรรถว่า คุณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคติํ
.
ธรรมและอธรรม ทั้งสองมีวิบาก
เสมอกันหามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก
ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ
.
ใช้ในอรรถว่า นิสสัตตนิชชีวะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตสฺมิํ โข ปน
สมเย ธมฺมา โหนฺติ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วีหรติฉะนั้นความ คณะ ร้อยแก้ว หรือว่าร้อยกรอง
(ก็สมัยนั้นแล
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายย่อมมี และคำว่า ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็น
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายอยู่). แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า
นิสสัตตนิชชีวะเท่านั้น.

Insert Table

   🔠  ₁₉₆

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239