ถามว่า บทเหล่านั้น คือ กุสลา หรือว่า ธมฺมา เป็นต้น มีอรรถ
อย่างเดียวกัน หรือมีอรรถต่างกัน.
ตอบว่า ในข้อนี้เป็นอย่างไร ถ้าภาระทั้งสองนี้มีอรรถเป็นอันเดียวกัน
คำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ก็จะเป็นเช่นกับกล่าวคำว่า กุศล กุศล ถ้าว่ามีอรรถ
ต่างกันก็จะปรากฏว่าติกะและทุกะเป็นฉักกะและ
เนื่องกัน เหมือนเขากล่าวว่า กุศล รูป คนมีจักษุ เมื่อบททั้งหลายไม่ส่อง
ความถึงกันและกันด้วยสามารถแห่งอรรถ ความเกี่ยวข้องกันอะไร ๆ ก็ไม่มี
แม้ในคำว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้นนี้ก็เหมือนกัน บททั้งหลายจะไม่สัมพันธ์กัน
และบททั้งหลายเว้นจากการสัมพันธ์ในบทเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ชื่อว่า
ประโยชน์ย่อมไม่มี และต่อไปก็จะขัดแย้งกับคำถามที่ว่า กตเม ธมฺมา
กุสลา เพราะว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่กุศล ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงตรัสคำนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา. อีกนัยหนึ่ง ถ้าบททั้งหลายเหล่านี้
มีอรรถอย่างเดียวกัน แม้ความที่ธรรมทั้ง ๓ มีกุศลเป็นต้น ก็จะปรากฏเป็น
เช่นเดียวกัน จริงอยู่ ธรรมทั้ง ๓ มีบทแห่งกุศลเป็นต้น ย่อมปรากฏเป็นอัน
เดียวกันโดยความเป็นธรรม เพราะฉะนั้น แม้กุศลเป็นต้นอันมีความหมาย
ไม่ต่างกันโดยอรรถ
คำใดเป็นกุศล คำนั้นเป็นอกุศล เป็นอัพยากตะ ถ้าหากไม่ยอมรับธรรม ๓
อย่าง เป็นอย่างเดียวกัน ก็จะต้องกล่าวว่า ธรรมที่มีศัพท์ว่า กุศลอยู่ข้างหน้า
เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มีศัพท์ว่า อกุศลอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มี
อัพยากตะอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาวะก็ดี อภาวะอื่น
นอกจากภาวะก็ดี ก็ชื่อว่า ธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมที่มีอกุศลศัพท์ข้างหน้า
ก็นอกไปจากธรรมที่มีกุศลศัพท์อยู่ข้างหน้าซึ่งเป็นภาวะก็จะพึงเป็นอภาวะไป
No comments:
Post a Comment