Sunday, February 13

Thi

 

 

ลำดับนั้น เหล่าเทวดาทั้งหลาย มีความปริวิตกเกิดขึ้นว่า แม้ในวันนี้
พระสิทธัตถะพึงทำกิจที่ควรทำเป็นแน่ จึงยังไม่ละความอาลัยในบัลลังก์ ดังนี้.
พระศาสดาทรงทราบวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะยังวิตกของเทวดาเหล่านั้น
ให้สงบ จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสแสดงยมกปาฏิหาริย์.
จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงทำที่มหาโพธิบัลลังก์ก็ดี ทำที่สมาคม
แห่งพระญาติก็ดี ที่สมาคมปาฏลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์
ที่ทำที่ควงไม้คัณฑามพฤกษ์นั่นแหละ ครั้นทรงทำปาฏิหาริย์อย่างนี้แล้ว จึง
เสด็จลงจากอากาศแล้วเสด็จจงกรมตลอดสัปดาห์ ในระหว่างแห่งบัลลังก์และ
สถานที่อันพระองค์ประทับยืนอยู่แล้ว ก็ใน ๒๑ วันเหล่านี้ แม้วันหนึ่ง รัศมี
ทั้งหลายมิได้ออกจากสรีระของพระศาสดา แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับนั่ง
ในเรือนแก้วในทิศพายัพ ชื่อว่า เรือนแก้ว มิใช่เรือนที่สำเร็จด้วยรัตนะ แต่
บัณฑิตพึงทราบสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ ว่าเป็น
เรือนแก้ว.
บรรดาปกรณ์ทั้ง ๗ นั้น แม้เมื่อทรงพิจารณาธรรมสังคณี รัศมี
ทั้งหลายก็ไม่ซ่านออกไปจากพระสรีระ เมื่อพิจารณาวิภังคปกรณ์ ธาตุกถา
ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุปกรณ์ และยมกปกรณ์ รัศมีทั้งหลายก็มิได้ซ่านออก
ไปจากพระสรีระ แต่เมื่อใด ก้าวลงสู่มหาปกรณ์เริ่มพิจารณาว่า เหตุปจฺจโย
อารมฺมณปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย ดังนี้ เมื่อนั้น สัพพัญญุตญาณ
โดยความเป็นอันเดียวกัน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พิจารณาสมันตปัฏฐาน
๒๔ ประการ ย่อมได้โอกาส (ช่อง) ในมหาปกรณ์นั้นแหละ เปรียบเหมือน
ปลาใหญ่ ชื่อว่า ติมิรปิงคละ ย่อมได้โอกาสโดยความเป็นอันเดียวกันใน
มหาสมุทรอันลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์นั่นแหละ ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณ

 Insert Table


   🔠  ₃₁

No comments:

Post a Comment

ประณาม Khatha สำหรับ Phra สรรพาลังการ Pali ศัพท์