ทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลายนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า ติกติกปัฏฐาน และ
ทรงรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า
ทุกทุกปัฏฐาน (พระบาลีว่า)
ติกญฺจ ปฏฺฐานวรํ ทุกุตฺตมํ
ทุกติกญฺเจว ติกทุกญฺจ
ติกติกญฺเจว ทุกทุกญฺจ
ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา.
นัยทั้ง ๖ อัน
อนุโลม อย่างนี้ คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ๑
ทุกติกปัฏฐาน ๑ ติกทุกปัฏฐาน ๑
ติกติกปัฏฐาน ๑ ทุกทุกปัฏฐาน ๑.
แม้ในธรรมปัจจนียปัฏฐาน ก็ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะอาศัยติกะ
๒๒ ชื่อว่าทุกปัฏฐาน เพราะอาศัยทุกะ ๑๐๐ ชื่อว่าทุกติกปัฏฐาน เพราะรวม
ติกะ ๒๒ เข้าในทุกะ ๑๐๐ ชื่อว่าติกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะ ๑๐๐ เข้าใน
ติกะ ๒๒ ชื่อว่าติกติกปัฏฐาน เพราะรวมติกะทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลาย
นั่นแหละ ชื่อว่าทุกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลาย
ดังนี้.
แม้ในปัจจนียปัฏฐานก็ทรงแสดงปัฏฐานโดยนัยทั้ง ๖ เพราะเหตุนั้น
พระสังคีติการกมหาเถระ จึงกล่าวไว้ว่า
นัยทั้ง ๖ อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม
ปัจจนิยะ คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑
ฯ ล ฯ
No comments:
Post a Comment