Tuesday, February 1

Phueng


บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้
และปิฎกทีเดียว เพราะในปิฎกเหล่านั้น ธรรมหรืออรรถใดๆ หรือเทศนาซึ่ง
ส่องเนื้อความนั้น ๆ โดยประการที่ควรรู้เนื้อความซึ่งตรงต่อญาณของผู้ฟังโดย
ประการนั้น ๆ ก็หรือว่า การแทงตลอด กล่าวคือการหยั่งลงสู่ธรรมอันไม่วิปริต
ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอันใด หรือความที่ธรรมเหล่านั้น ๆ ซึ่งมีสภาพไม่วิปริต
กล่าวคือกำหนดได้อันพึงแทงตลอด ธรรมทั้งหมดนั้น คนมีปัญญาน้อยไม่
สร้างกุศลสมภารไว้หยั่งลงได้โดยยาก ทั้งจะเป็นที่พึงเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้เปรียบเหมือน
มหาสมุทร สัตว์เล็กมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งให้ถึงได้ยาก ทั้งจะเป็นที่พึ่งไม่
ได้ฉะนั้น.
ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวถึงเนื้อความคาถา
นี้ว่า
บัณฑิตพึงแสดงประเภทเทศนา
ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ และคัมภีรภาพ
ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ตามสมควร ด้วย
ประการฉะนี้
.
แต่ในคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมบรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ
และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดยประการ
ใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้นทั้งหมด โดย
ประการนั้น ดังนี้
.
บัณฑิตพึงเห็นความแตกต่างกันแห่งปริยัติ ๓ อย่างในพระไตรปิฎก
ทั้ง ๓ ดังต่อไปนี้.

Insert Table

   🔠  ₆₇

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239