ว่าโดยกถา
อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกว่า สังวราวรกถา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ความสังวรน้อยใหญ่ อันเป็น
คำว่า สังวราสังวร นี้ ได้แก่ สังวรน้อยและใหญ่ เหมือนกัมมากัมมะ (กรรม
น้อยใหญ่) และผลาผล (ผลน้อยใหญ่). ปิฎกที่สอง เรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการเปลื้องทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒
ไว้ในพระสุตตันตปิฎกนี้. ปิฎกที่สาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา เพราะ
ตรัสถึงการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม มีราคะเป็นต้นไว้ใน
พระอภิธรรมปิฎกนี้.
ว่าโดยสิกขาเป็นต้น
อนึ่ง ในปิฎกแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ
๓ และคัมภีรภาพ ๔ อย่าง.
จริงอย่างนั้น ว่าโดยนัยพิเศษ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิศีลสิกขาไว้ใน
พระวินัยปิฎก ตรัสอธิจิตตสิกขาไว้ในพระสุตตันตปิฎก และตรัสอธิปัญญาสิกขา
ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปหาน (การละ) วิติกกม-
กิเลสไว้ในพระวินัยปิฎก เพราะความที่ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อการก้าวล่วงของกิเลส
(วีติกกมกิเลส) ตรัสการปหานปริยุฏฐานกิเลสไว้ในพระสุตตันตปิฎก เพราะ
ความที่สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสที่กลุ้มรุม (ปริยุฏฐานกิเลส) ตรัสการปหาน
อนุสัยกิเลสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพราะความที่ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัย-
กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการละกิเลสทั้งหลายด้วยตทังคปหาน (ละ
ชั่วคราว) ในสองปิฎกนอกนี้ตรัสการละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหานและสมุจเฉท-
ปหาน อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการปหานสังกิเลสคือทุจริต ในสองปิฎก
นอกนี้ ตรัสการปหานสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.
No comments:
Post a Comment
ประณาม Khatha สำหรับ Phra สรรพาลังการ Pali ศัพท์