๓. ความเป็นผู้ฉันบิณฑบาตอันสงบ
๔. เมื่อ
ชายหญิงและกหาปณะเป็นต้นอยู่ ความเป็นผู้ไม่ต้องเศร้าหมองเพราะการ
บีบคั้นชาวแว่นแคว้น
๕. ความไม่มีฉันทราคะในเครื่องใช้ทั้งหลาย
๖. ความปราศจากภัยในการถูกโจรปล้น
๗. ความไม่คลุกคลีด้วยพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา
๘. ความไม่กระทบกระทั่งในทิศทั้ง ๔.
คำนี้มีอธิบายว่า ชนผู้อยู่ในอาศรมนั้น อาจเพื่อประสบความสุขของ
สมณะ ๘ อย่างเหล่านั้น ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ
ฉันนั้น.
คำว่า อภิญฺญาพลมาหรึ (นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา) ความว่า
เราอยู่ในอาศรมบทนั้นกระทำกสิณบริกรรม เริ่มวิปัสสนาโดยความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาทั้งหลายและสมาบัติทั้งหลายเกิดขึ้น แล้วนำ
วิปัสสนาพละอันมีกำลังมา อธิบายว่า ข้าพเจ้าอยู่ในที่นั้น ย่อมอาจเพื่อนำ
กำลังนั้นมาได้ ฉันใด ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอันสมควรแก่วิปัสสนาพละนั้น เพื่อ
ต้องการอภิญญานั้น ฉันนั้น.
ว่าด้วยวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตอาศรมบทเป็นต้น
ในบาทแห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ (เรา
ละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างในที่นั้น) แห่งคาถาว่า สาฏกํ ปชหึ
ตตฺถ ฯ เป ฯ ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ดังนี้ พึงทราบอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.
No comments:
Post a Comment