เป็นต้น ชื่อว่า ปิฏิฐทุกะ เพราะท่านดังไว้ในที่สุดแห่งอภิธรรมมาติกา. ส่วน
ทุกะ ๔๒ มีคำว่า วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา เป็นต้น
ชื่อว่า สุตตันตทุกะ ติกะและทุกะเหล่านี้ แม้ทั้งหมด พึงทราบว่าท่านกำหนด
ไว้ ๑๕ ปริจเฉท ดังพรรณนามาฉะนี้.
ว่าด้วยสัปปเทสะ และนิปปเทสะ
ก็ติกะและทุกะเหล่านี้ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้แล้วยังแยกออกเป็น ๒
โกฏฐาส คือ สัปปเทสะ (แสดงไว้ไม่หมด) และนิปปเทสะ (แสดงโดย
สิ้นเชิง) เท่านั้น. จริงอยู่ บรรดาส่วนทั้ง ๒ นั้น ติกะ ๙ และทุกะ ๗๑ ชื่อว่า
สัปปเทสะ เพราะท่านกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรมไว้ยังไม่หมด. ติกะ ๑๓
ที่เหลือ และทุกะ ๗๑ ชื่อว่า นิปปเทสะ. บรรดาธรรมทั้ง ๒ นั้น ติกะ ๙
เหล่านั้น คือ เวทนาติกะ วิตักกติกะ ปีติติกะ
และอารัมมณา
โคจฉกะ ๙ มีเหตุโคจฉกะเป็นต้น มีอุปาทานโคจฉกะเป็นที่สุด มีโคจฉกะละ
๓ ทุกะ ในที่สุดแห่งกิเลสทุกะ มีโคจฉกะละ ๔ ทุกะ มหันตรทุกะอย่างละ ๒
คือ จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตสํสฏฺฐา
ธมฺมา จิตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา และในสุตตันตทุกะทั้งหลายเว้นทุกะ ๔ เหล่านี้
คือ อธิวจนทุกะ นิรุตติทุกะ ปัญญัตติทุกะ นามรูปทุกะ ก็ทุกะ ๓๘ ที่เหลือ
เหล่านั้น ชื่อว่า สัปปเทสะ บัณฑิตพึงทราบติกะและทุกะที่เหลือตามที่กล่าว
แล้วแม้ทั้งหมดว่าเป็น นิปปเทสะ ดังนี้.
No comments:
Post a Comment
ประณาม Khatha สำหรับ Phra สรรพาลังการ Pali ศัพท์