เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราชผู้
ของพระองค์ ทรงเจริญเมตตา ที่กล่าวไว้ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า
ใคร ๆ ย่อมไม่ดุร้ายกับเรา แม้เราก็
ไม่กลัวใคร ๆ ในกาลนั้นเราได้กำลังเมตตา
อุปถัมภ์แล้ว ย่อมยินดีในป่าใหญ่ ดังนี้
ชื่อว่า ได้บำเพ็ญเมตตาบารมีเป็นปรมัตถบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนักบวช ชื่อว่า โลมหังสะ ไม่ละ
ความเป็นอุเบกขาในพวกเด็กชาวบ้านผู้ยังความทุกข์แสะความสุขให้เกิดขึ้น
ด้วยการถ่มน้ำลายรดเป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอมมาให้เป็นต้น
ตามที่กล่าวไว้ในโลมหังสชาดก อย่างนี้ว่า
เรานอนในป่าช้า มีกระดูกศพเป็น
หมอนหนุน พวกเด็กชาวบ้านเข้าไปแสดง
รูปไม่น้อย ดังนี้
ชื่อว่า อุเบกขาบารมีเป็นปรมัตถบารมี. ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนเนื้อความ
พิสดารพึงถือในจริยาปิฎก.
พระโพธิสัตว์ ครั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ใน
อัตภาพของพระเวสสันดร ได้สร้างบุญเป็นอันมากอันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่
ไหว ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
แผ่นดินนี้ ไม่มีจิต ไม่ทราบถึง
ความสุขและทุกข์ แม้กระนั้นก็ยังไหวถึง
๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา.
No comments:
Post a Comment