อรรถว่า ทุกขปัจจัย ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
(การสั่งสมบาป เป็นปัจจัยแห่งทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจยฐาน ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน
ยาว ทุกฺขา นิรยา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานปัจจัยแห่งทุกข์จนกระทั่ง
ถึงนรกด้วยการบอกเล่านี้ กระทำไม่ได้ง่าย). แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้พึงทราบ
ว่าเป็นทุกขเวทนาเท่านั้น.
ว่าด้วยความหมายของศัพท์
ก็พึงทราบวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ในที่นี้
ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย.
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก.
ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ทุกข์ และไม่ใช่สุข. ม
อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเชื่อมบท.
ธรรมมีสุขเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้
คือ ย่อมเสวยรส
อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ ทุกขเวทนา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นลักษณะ อทุกขมสุขเวทนามีการเสวยอารมณ์ผิดแปลกจากเวทนา
ทั้งสอง.
ว่าด้วยสัมปยุตตะ
ก็
ชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบด้วยการกระทำต่าง ๆ
โดยชอบ. ถามว่า การกระทำต่าง ๆ อย่างไร ตอบว่า ด้วยการทำทั้งหลาย
No comments:
Post a Comment