ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติทั้งหลายที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า กองอาบัติ ๕ ก็มี
กองอาบัติ ๗ ก็มีดังนี้ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในการออก
จากอาบัติเหล่านั้น ชื่อว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา.
นี้เป็นชื่อของปัญญาที่กำหนดอัปปนาของสมาบัติทั้งหลาย. ความเป็นผู้ฉลาด
ในการออกจากสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑๘ อย่าง ชื่อว่า ธาตุกุสลตา. ความ
ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.
ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะนั้น ๆ ชื่อว่า ฐานกุสลตา. เหตุ ตรัสเรียกว่า
ฐานะ จริงอยู่ ผล ชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ เพราะอาศัยฐานะนั้นเป็นไปแล้ว
เพราะฉะนั้น ตรัสเรียกเหตุว่า ฐานะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะทั้งหลาย
ชื่อว่า อฐานกุสลตา. ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชชวะ. ความเป็นผู้
อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ. ความเป็นผู้อดทนกล่าวคือความอดกลั้น ชื่อว่า
ขันติ. ความเป็นผู้ยินดีร่าเริง ชื่อว่า โสรัจจะ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน
คือความบันเทิงใจและความอ่อนโยน ชื่อว่า สาขัลยะ. การปฏิสันถารด้วย
ธรรมและอามิสทั้งหลายโดยไม่ให้มีโทษของตนกับผู้อื่น ชื่อว่า ปฏิสันถาร.
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ คือความเป็นผู้
ทำลายอินทรีย์สังวร ชื่อว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา. ความเป็นผู้ไม่
รู้จักประมาณในโภชนะด้วยอำนาจแห่งการรับและการบริโภค ชื่อว่า โภชเน
อมตฺตญฺญุตา. พึงทราบหมวด ๒ ในระหว่าง ด้วยสามารถการปฏิเสธคำที่
กล่าวแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลงลืมสติ คือการอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า
มุฏฐสัจจะ. ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ชื่อว่า อสัมปชัญญะ.
No comments:
Post a Comment