อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กัณหธรรม เพราะเหตุที่กำเนิดดำ หรือชื่อว่า สุกกธรรม
เพราะเหตุที่กำเนิดขาว. ที่ชื่อว่า ตปนียธรรม เพราะย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
และโลกหน้า ธรรมที่มิใช่ตปนียธรรม ชื่อว่า อตปนียธรรม.
ทุกะ ๓ มีอธิวจนทุกะเป็นต้น ว่าโดยอรรถไม่มีการกระทำที่ต่างกัน
ในอธิวจนทุกะเป็นต้นนี้ ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น จริงอยู่ คำว่า
สิริวฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก เป็นต้นที่กระทำเพียงถ้อยคำเท่านั้น ให้เป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่า อธิวจนะ ธรรมที่เป็นคลองแห่งชื่อทั้งหลาย ชื่อว่า อธิวจนปถะ
คำพูดที่ท่านกล่าวอยู่กระทำให้มีเหตุโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมใดย่อมปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงเรียกว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า
นิรุตติ. คลองแห่งนิรุตติธรรมทั้งหลาย เรียกว่า นิรุตติปถธรรม. ธรรมที่
ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก
(การตรึก) วิตกฺโก (วิตก) สํกปฺโป (ความดำริ). ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลาย
เรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม ในที่นี้แม้จะกล่าวทุกะหนึ่ง ก็พึงทราบประโยชน์
ในถ้อยคำโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ.
ว่าด้วยนามรูปทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งนามรูปต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า การตั้งชื่อ หรือเพราะอรรถว่า
น้อมไป หรือว่าเพราะอรรถว่าการให้น้อมไป. ธรรมที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า
แตกสลายไป ในสุตตันติกทุกะนี้ มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดาร
ความไม่รู้ในสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา ความ
ปรารถนาในภาวะ ชื่อว่า ภวตัณหา. สัสสตะ (เที่ยง) ท่านเรียกว่า ภวะ
No comments:
Post a Comment
ประณาม Khatha สำหรับ Phra สรรพาลังการ Pali ศัพท์